เศรษฐกิจโลก ข่าวดี ข่าวร้าย เงินเฟ้อ ธนาคารกลางสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภค CPI ข่าววันนี้
เศรษฐกิจโลก เมื่อวันพุธตามเวลาสหรัฐฯที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานของเมืองลุงแซม ที่ทำหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ CPI เครื่องชี้วัดภาวะเงินเฟ้อที่สำคัญยิ่งได้ประกาศตัวเลขของเดือนตุลาคมออกมาเรียบร้อย กลายเป็นข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งของประเทศ เหตุเพราะตัวเลขดัชนีดังกล่าวนี้ แม้จะเพิ่มขึ้นในอัตราสูงถึง 7.7 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อเทียบเป็นรายปีปรากฏว่าออกมาต่ำกว่าร้อยละ 7.9 ที่นักวิเคราะห์คาดเอาไว้ ที่สำคัญเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ คือเดือนกันยายน ซึ่งอยู่ในอัตราร้อยละ 8.2 นั้น ข่าววันนี้ เห็นได้ชัดเจนเลยว่า CPI ของเดือนตุลาคม ลดลงอย่างมีนัยสำคัญยิ่งไปกว่านั้นเมื่อไปดูเฉพาะตัวเลข CPI มาตรฐาน ซึ่งจะไม่รวมหมวดอาหารและพลังงานไว้ด้วยนั้น พบว่าตัวเลขของเดือนตุลาคมปรับตัวขึ้นเพียงร้อยละ 6.3 ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ว่าจะเป็น 6.5 และขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนกันยายน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.6 แล้ว…จะเห็นว่าตัวเลขของเดือนตุลาคมชะลอลงอย่างชัดเจน ก็ต้องถือว่าเป็น “ข่าวดี”
เพราะแสดงให้เห็นว่ามาตรการต่างๆที่ธนาคารกลางสหรัฐฯดำเนินการมาอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะมาตรการขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่ค่อนข้างสูง เพื่อลดความแรงของเงินเฟ้อนั้น เริ่มให้ผลขึ้นแล้วปรากฏว่าตลาดหุ้นที่สหรัฐฯออกมาขานรับกันยกใหญ่ โดยเฉพาะในวันที่มีการเผยแพร่ดัชนีที่ว่านี้…ดาวโจนส์ ขึ้นไปถึง 1,201 จุด ปิดที่ 37,715 จุด, เอส แอนด์ พี ขึ้นไป 208 จุด ปิดที่ 3,956 จุด และ แนสแด็ก หุ้นไฮเทคก็ขึ้นถึง 761 จุด ปิดที่ 11,114 จุด เหตุที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯกระดี๊กระด๊ากันยกใหญ่นั้น เพราะมองข้ามช็อตไปข้างหน้าว่า เมื่อมาตรการสกัดเงินเฟ้อที่ผ่านมาได้ผลเช่นนี้…
ข่าววันนี้
ทางธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจจะผ่อนมาตรการลง โดยอาจขึ้นดอกเบี้ยแค่ร้อยละ 0.50 ในเดือนธันวาคม มิใช่ขึ้นแรงถึงร้อยละ 0.75 อย่างที่ตั้งเป้าไว้โดยลืมไปว่าทางธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยเฉพาะท่านประธาน เจอโรม พาวเวลล์ ท่านพูดแล้วพูดอีกว่า ธนาคารกลางจะไม่รีบร้อน จะไม่รีบผ่อน หรือรีบปรับนโยบายลงอย่างรวดเร็วเหมือนที่เคยเผลอทำไว้ในอดีตจะต้องรอให้แน่ใจว่าสามารถจัดการเงินเฟ้อได้อยู่หมัดแล้ว… นั่นแหละจึงจะยอมผ่อนคลายมาตรการลงบ้าง พูดเหมือนดักคอไว้ว่าไม่ว่าเงินเฟ้อจะลดหรือไม่ลด ยังไงเดือนธันวาคม จะต้องเหยียบเบรกแรง (ด้วยอัตราร้อยละ 0.75) กันอีกแน่ๆ…ซึ่งคงจะต้องติดตามกันต่อไปว่า การตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯจะเป็นอย่างไร?แต่ไม่ว่าอย่างไร ต้องถือว่าการที่เงินเฟ้อสหรัฐฯลดลงเป็นข่าวดี… แสดงว่ามาตรการหรือยารักษาโรคทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาโรคเงินเฟ้อยังใช้ได้อยู่…อย่างไรก็ตามแม้จะมีข่าวดีเรื่อง “เงินเฟ้อ” สหรัฐฯลด แต่ก็มี “ข่าวร้าย”
ธนาคารกลางสหรัฐฯ
เกิดขึ้นในหลายๆประเทศ เมื่อสอดส่ายสายตาไปยังประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ โดยเฉพาะในยุโรปเมื่อวานนี้เอง สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ ซึ่งเจอปัญหาเศรษฐกิจหนักมากมาโดยตลอด ออกมายอมรับแล้วว่า เศรษฐกิจของอังกฤษหดตัวลง ราวๆ 0.2 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน หรือไตรมาสที่ 3 ของปีนี้เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดไว้ และเมื่อเร็วๆนี้ก็มีคำเตือนจากธนาคารกลางของอังกฤษว่า การหดตัวครั้งนี้อาจยาวนานกว่าทุกๆ ครั้งนับตั้งแต่ปี 1940 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ณ นาทีนี้ ประเทศใหญ่ๆหลายประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส, เยอรมนี และอิตาลี ยังคงเป็นบวกอยู่ โดยเฉพาะรายงานไตรมาส 3 ชี้ให้เห็นว่า จีดีพีของทั้ง 3 ประเทศยังเป็นบวกอย่างชัดเจนแต่จากการที่อัตรา
เงินเฟ้อเฉลี่ยของยุโรปยังสูงมากถึงร้อยละ 8.5 ซึ่งแต่ละประเทศก็เริ่มเหยียบเบรกกันมาพอสมควรแล้ว ประกอบกับผลกระทบจากอังกฤษที่ลดลงก่อน น่าจะตามไปยังยุโรปอื่นๆในไม่ช้านี้อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางของยุโรปยังมั่นใจว่า เศรษฐกิจยุโรปไม่น่าจะหดตัวลง…ซึ่งก็คงต้องติดตามต่อไปว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างครับจากการส่องเศรษฐกิจโลกอย่างคร่าวๆในช่วงนี้ จึงพอจะสรุปได้ว่า มีทั้งข่าวดีและ
ข่าวร้าย…ดังที่ผมพาดหัวคอลัมน์ไว้ตรงข้ามกับเศรษฐกิจของไทยเรา…มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ออกมาแถลงให้กำลังใจเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ของเราน่าจะดีขึ้นผมจดตัวเลขต่างๆเอาไว้แล้ว พรุ่งนี้เราลองมาดูกันนะครับที่ว่าของเราจะดีขึ้นนั้น จะดีขึ้นแค่ไหนและอย่างไร
เศรษฐกิจโลก
ขอบคุณเครดิตจาก https://www.thairath.co.th/
แนะนำข่าว